Browsing by Author "บุญชู สุดโสม, พระครูปริยัติกิตติวิมล"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประกอบสร้างอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) บุญชู สุดโสม, พระครูปริยัติกิตติวิมลวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ในด้านลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบ และสารัตถะอุปลักษณ์มโนทัศน์ โดยใช้วรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จำนวน 51 เรื่อง อันมีข้อความอุปลักษณ์ จำนวน 400 ข้อความ แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ แนวคิดความเปรียบ และแนวคิดพุทธธรรม ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบ พบว่า มีกลวิธีการประกอบสร้างความเปรียบ 2 ระดับ คือ โลกิยะธรรม และระดับโลกุตตระธรรม ในความเปรียบโลกิยะธรรม จำแนกได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความเปรียบประเภทสิ่งมีชีวิต คือ มนุษย์ สัตว์ และเทวดา กลุ่มความเปรียบประเภทธรรมชาติ คือ พืช ปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำ ไฟ และแผ่นดิน กลุ่มความเปรียบประเภทอาคารสถานที่ กลุ่มความเปรียบสถานที่ เกี่ยวกับน้ำ อาคาร ถนน และอ่างเก็บน้ำ กลุ่มความเปรียบประเภทเครื่องใช้ เกี่ยวกับภาชนะ และทรัพย์สิน และกลุ่มความเปรียบประเภทธรรมะ ลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบในระดับโลกิยะใช้คำเชื่อมแสดงการเปรียบเทียบมากที่สุด คือ "เหมือน" รองลงมา คือ "เปรียบเหมือน" และ "เหมือนกับ" ความเปรียบโลกุตตระธรรมพบ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสิ่งมีชีวิต คือ คน สัตว์ รวมถึงเทวดา พรหม ยักษ์ และอมนุษย์ และกลุ่มธรรมชาติ คือ น้ำ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบโดยใช้คำเชื่อมแสดงการเปรียบเทียบมากที่สุด คือ "เหมือน" รองลงมา คือ "เปรียบเหมือน" และ "เหมือนอย่าง" สารัตถะอุปลักษณ์มนทัศน์ พบว่า มี 2 ลักษณะ ได้แก่ สรัตถะโลยะ มีแก่นเนื้อหาสาระ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารัตถะครอบครัวเน้นว่าสถาบันครอบครัว กลุ่มสารัตถะการศึกษา กลุ่มสารัตถะการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มสารัตถะการปฏิบัติธรรม กลุ่มสารัตถะการบริหารจิต และกลุ่มสารัตถะพระพุทธศาสนา ส่วนสรัตถะโลกุตตระ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารัตถะคำนิยามความหมายและผู้บอกทางปฏิบัติ กลุ่มสารัตถะลักษณะการบรรลุธรรม กลุ่มสารัตถะลักษณะของผู้บรรลุธรรม กลุ่มสารัตถะของธรรมที่เกิดขึ้นหลังจากตรัสรู้แล้ว และกลุ่มสารัตถะของคุณวิเศษที่ได้จากการบรรลุธรรม อุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เหล่านี้ เป็นประโยชน์ในการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านการดำเนินชีวิต ด้านปัญญา ด้านการเมืองการปกครอง และด้านการศึกษา ตามลำดับสืบไป