Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "บัณฑิตา คำยวง"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดน่าน
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) บัณฑิตา คำยวง
    การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติ ในพื้นที่จังหวัดน่าน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค และเสนอแนวทางในการนำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระลอกใหม่ไปปฏิบัติในอนาคต ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 9 คน ประกอบด้วย นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการตอบแบบสอบถามของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอบ้านหลวง อำเภอสองแคว จำนวน 120 คน และจากประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จำนวน 275 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานและประชาชน มีความคิดเห็นว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลให้การนำมาตรการควบคุมการเดินทางเข้า-ออก พื้นที่จังหวัดน่านประสบผลสำเร็จมากที่สุด คือ ความร่วมมือของประชาชน รองลงมา คือ ความชัดเจนของนโยบาย มาตรฐานของนโยบาย บุคลากรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร และทรัพยากร ตามลำดับ 2) ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ จำนวนบุคคลากรที่ปฏิบัติงานประจำด่านตรวจไม่เพียงพอกับภารกิจ 3) ข้อเสนอแนะควรตั้งด่านตรวจในช่วงที่สถานการณ์แพร่ระบาดมีความรุนแรง หรือต้องการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และควรจัดเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขให้เพียงพออยู่เสมอเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคต

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback