Browsing by Author "นันทวัน คำอ้าย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคช่วงการระบาดโรคโควิด -19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) นันทวัน คำอ้ายการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) เพื่อศึกษาระดับความรู้เรื่องวัณโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากวัณโรค การรับรู้ความรุนแรงของวัณโรค การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันวัณโรค การรับรู้ประโยชน์จากการป้องกันวัณโรค สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย จำนวน 422 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.9 มีอายุเฉลี่ย 42 ปี สำหรับคะแนนระดับความรู้เรื่องวัณโรคอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 41.7 คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 48.6 คะแนน การรับรู้ความรุนแรงต่อการป้องกันโรคอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 54.5 สำหรับตัวแปรที่มีคะแนนเฉลี่ยสูง ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการป้องกันโรคร้อยละ 65.9 การรับรู้ประโยชน์จากการป้องกันโรคร้อยละ 76.3 การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคร้อยละ 77.5 และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมในการป้องกันโรคร้อยละ 87.0 ในด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันวัณโรค ได้แก่ ปัจจัยด้านกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว ประวัติการรับวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ประวัติการป่วยด้วยโรคโควิด-19 ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และผลเอกซเรย์ปอด (P<0.05) จากการศึกษาตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์จากการป้องกันโรค (r=0.581) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r=0.565) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค (r=0.526) การรับรู้ความรุนแรงในการเกิดโรค (r=0.452) ความรู้เรื่องวัณโรค (r=0.397) และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมในการป้องกันโรค (r=0.179) และเมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องวัณโรค การรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคกับผลเอกซเรย์ปอด พบว่า ตัวแปรพฤติกรรมการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์มากที่สุด ที่สามารถลดความผิดปกติของผลตรวจเอกซเรย์ปอดได้ถึงร้อยละ 30.4 ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการดูแลผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรควัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอด