Browsing by Author "นวภพ สุทัศน์วิริยะ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemประสิทธิภาพการบำบัดสารกลุ่มสเตียรอยด์ฮอร์โมนจากแหล่งปศุสัตว์ด้วยกระบวนการโฟโตแคตาไลติกโอโซนเนชัน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) นวภพ สุทัศน์วิริยะงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดสารสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ตกค้างจากแหล่งปศุสัตว์รอบบริเวณกว๊านพะเยาด้วยกระบวนการโฟโตแคตาไลติกโอโซนเนชันในสภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ pH 5.0 ปริมาณโอโซน 400 mg/L และรังสีอัลตราไวโอเลต (UV-C) ที่ความยาวคลื่น 254 nm เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียของฟาร์มปศุสัตว์ จากการศึกษาการตกค้างส่วนใหญ่พบฮอร์โมน estrone (E1) ความเข้มข้น 0.56-97.10 ng/g 17ß-estradiol (ßE2) ความเข้มข้น 10.08-1,366 ng/g 17α-ethynylestradiol (EE2) ความเข้มข้น 0.19–44.2 ng/g testosterone (T) ความเข้มข้น 0.004 – 0.46 ng/g และ 17α-methyltestosterone (MT) ความเข้มข้น 0.08–1.72 ng/g ในมูลสัตว์และดิน ส่วนในน้ำเสียพบ βE2 ความเข้มข้น 472.93 ng/L EE2 ความเข้มข้น 103.02 ng/L และ MT ความเข้มข้น 4.24 – 50.47 ng/L เมื่อทำการประเมินความเสี่ยงจากสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ตกค้างในน้ำเสีย พบว่า มีเพียง ßE2 EE2 และ MT ที่มีความเสี่ยง อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์การตกค้างของสเตียรอยด์ฮอร์โมนในกว๊านพะเยา แสดงให้เห็นว่าสารตกค้างไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ (RQ 0.002–144.5) และไม่พบการตกค้างของสเตียรอยด์ฮอร์โมนในโรงผลิตน้ำประปาและน้ำประปา จากนั้นนำค่าที่ได้มาทำการทดลองด้วยการทำน้ำเสียสังเคราะห์ปริมาตร 1 L และทำการบำบัดด้วยกระบวนการโฟโตแคตาไลติกโอโซนเนชันในสภาวะที่เหมาะสม โดยทำการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยการเติมฮอร์โมนความเข้มข้น 1,000 เท่าของความเข้มข้นที่พบในน้ำเสียจริงจากฟาร์มปศุสัตว์ และน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยการเติมฮอร์โมนความเข้มข้นที่ค่าความสามารถในการละลายน้ำสูงสุด คือ ßE2 13 mg/L EE2 4.8 mg/L และ MT 3 mg/L พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ทั้ง 2 ตัวอย่างมีประสิทธิภาพเท่ากัน คือ สามารถบำบัดฮอร์โมน ß2 EE2 และ MT ได้ 100% เมื่อบำบัดที่เวลา 25 นาทีเป็นต้นไป และเมื่อทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการบำบัดด้วยกระบวนการโฟโตแคตาไลติกโอโซนเนชัน พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดค่าสารอินทรีย์ทั้งหมด (TOC) สามารถลดค่า TOC ในน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 1,000 เท่าของที่พบในปศุสัตว์ได้ 99.99% และในน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้นที่ค่าความสามารถในการละลายน้ำสูงสุดได้ 99.97% หลังจากบำบัดที่เวลา 30 นาที เป็นต้นไป ซึ่งมีความสอดคล้องกับประสิทธิภาพในการบำบัดฮอร์โมน อีกทั้งยังไม่มีการออกฤทธิ์ทางเพศหญิง และการออกฤทธิ์ทางเพศชายภายหลังการบำบัดที่เวลา 15 นาที เป็นต้นไป จึงสรุปได้ว่ากระบวนการโฟโตแคตาไลติกโอโซนเนชันสามารถบำบัดฮอร์โมน ßE2 EE2 และ MT ที่ตกค้างในน้ำเสียของฟาร์มปศุสัตว์ให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้สมบูรณ์