Browsing by Author "นริสรา กาวิวงศ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) นริสรา กาวิวงศ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความคิดเห็น และความต้องการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพลิ้นจี่สู่มาตรฐาน GI 2) ศึกษาระดับความรู้และเปรียบเทียบระดับความรู้ ก่อน-หลังเข้าร่วมการฝึกอบรมฯ 3) ประเมินคุณภาพผลผลิตลิ้นจี่ของผู้ปลูกลิ้นจี่ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ ตามมาตรฐาน GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” 4) หาแนวทางการส่งเสริมการผลิต สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” เก็บรวบรวมข้อมูล พ.ศ. 2564-2565 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปลูกลิ้นจี่กลุ่มแปลงใหญ่ อ.แม่ใจ จ.พะเยา จำนวน 155 ราย ซึ่งได้จากการคำนวณด้วยใช้สูตร Taro Yamane สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลากตามสัดส่วน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 15 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา, สถิติเชิงอนุมาน คือ T-test , SWOT และ TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปลูกลิ้นจี่เป็นเพศชาย (78.7%) มีอายุเฉลี่ย 60.59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (65.2%) ประกอบอาชีพเกษตรกร (96.1%) มีประสบการณ์ในการปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 28.41 ปี มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 6.55 ไร่ โดยลักษณะพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่เป็นที่ราบ (44.5%) ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำในการผลิตลิ้นจี่ (44.5%) มีรายได้จากการผลิตลิ้นจี่ เฉลี่ย 32,683.87 บาท/ปี ส่วนมากไม่เคยได้ยินหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (50.3%) โดยที่เคยได้ยินหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” มาจากการอบรม/ข้อมูลจากหน่วยงานราชการ (44.5%) และไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (66.5%) ผู้ปลูกลิ้นจี่เห็นด้วยมากที่สุดในประเด็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้ท้องถิ่นรวมถึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ และมีความต้องการการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งต้องการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ 2) ผู้ปลูกลิ้นจี่มีระดับความรู้หลังการเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบการควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (x̄ = 13.69) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอบรม (x̄ = 9.97) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.05) 3) ผู้ปลูกลิ้นจี่ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ จำนวน 16 ราย ผ่านการประเมินคุณภาพผลผลิตลิ้นจี่ตามข้อกำหนดสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” 4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก คือ พัฒนาและสร้างจุดเด่นให้สินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” และส่งเสริมให้ผู้ปลูกลิ้นจี่ขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การประชาสัมพันธ์สินค้า GI ใน Platform ต่าง ๆ กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ พัฒนาให้ผู้ปลูกลิ้นจี่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตลิ้นจี่ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน สินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” และกลยุทธ์เชิงรับ คือ การศึกษาความต้องการผู้บริโภคเพื่อให้ทราบทิศทางของตลาดและแนวโน้มความต้องการสินค้า GI