Browsing by Author "นภาพร สุทธวงค์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) นภาพร สุทธวงค์การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ และเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารและครูผู้สอนตามประสบการณ์การทำงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนการสอน และรองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ พบว่า 1) ด้านหลักสูตร ครูผู้สอนที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการสอนยังไม่เข้าใจหลักสูตร ควรให้หัวหน้ากลุ่มสาระเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลและผู้บริหารควรแนะนำและวิธีใช้หลักสูตร 2) ด้านการวางแผนงานวิชาการ บางช่วงเวลาไม่สามารถดำเนินงานตามแผนงานวิชาการที่วางไว้ได้ และควรส่งเสริมงานวิชาการทุกกลุ่มสาระ ควรขยายช่วงเวลาในการดำเนินงาน และควรจัดอบรมหรือศึกษาดูงาน 3) ด้านการเรียนการสอนจำนวนนักเรียนในห้องมากเกินไป ควรแบ่งการทำงานเป็นกลุ่ม 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน นักเรียนไม่ตั้งใจทำข้อสอบ ครูผู้สอนควรบอก ตักเตือน และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ 5) ด้านการวิจัยชั้นเรียน ครูผู้สอนไม่สามารถจัดทำงานวิจัยระยะยาวได้ เพราะมีภาระงานมาก จึงควรจัดทำงานวิจัยระยะสั้นภายใน 1 ภาคเรียน 6) ด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการสอน ครูไม่สามารถผลิตสื่อได้มาก เนื่องจากภาระงานมีมาก และงบประมาณไม่เพียงพอควรจัดหาสื่อสำเร็จรูปมาแทน และผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ 7) ด้านการมีส่วนร่วมของ ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีในท้องถิ่น ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้าร่วม โดยการแบ่งกลุ่มครูเพื่อเข้าร่วมประเพณีดังกล่าว 8) ด้านการนิเทศการศึกษาผู้บริหารขาดการนิเทศแบบต่อเนื่อง ควรให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาในการเข้านิเทศ 9) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดเปลี่ยนไปทำให้ครูขาดความเข้าใจ ควรจัดอบรมให้ครูจากการเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ทำงาน พบว่า ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 16 ปีขึ้นไปมีการดำเนินงานสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ทำงาน 1-15 ปี และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่ 4 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนมีการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด