Browsing by Author "ธารินทร์ ศรีวิโรจน์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของสารสกัดหยาบจากหญ้าแฝกต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ธารินทร์ ศรีวิโรจน์หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากยาวและมีความสำคัญต่อการนำไปใช้ในการอนุรักษ์น้ำและดินใบหญ้าแฝกจะถูกตัดทุก 3 เดือน เพื่อส่งเสริมการเจริญของราก ดังนั้นจึงมีใบเหลือทิ้งที่น่านำไปใช้ประโยชน์ทางอื่นได้ ในปัจจุบันหลายงานวิจัยรายงานว่า สารสกัดจากพืชบางชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสารพฤกษเคมีและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค ของสารสกัดหญ้าแฝกทั้ง 12 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แม่ฮ่องสอน แม่เตี๊ยะ ศรีลังกา เชียงใหม่ พระราชทาน สงขลา 3 กาญจนบุรี พิษณุโลก ปางกว้าง จันทบุรี นครสวรรค์ และห้วยขาแข้ง โดยนำใบหญ้าแฝกมาสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ น้ำ เอทานอล 95 เปอร์เซ็น อะชิโตน และเฮกเซน เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบสารประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้น พบว่า สารสกัดหญ้าแฝกที่สกัดด้วยน้ำ พบซาโปนิน แทนนิน และฟลาโวนอยด์ในทุกสายพันธุ์ สารสกัดหญ้าแฝกที่สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็น พบแทนนิน เทอร์ปีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ทุกสายพันธุ์ สารสกัดหญ้าแฝกที่สกัดด้วยอะซิโตน พบว่า มีเทอร์ปีนอยด์และฟลาโวนอยด์ในบางสายพันธุ์ ในขณะที่สารสกัดที่สกัดด้วยเฮกเซน ไม่พบสารพฤกษเคมีใด จากการตรวจสอบปริมาณฟินอลิกรวม พบว่า สายพันธุ์ห้วยขาแข้งที่สกัด ด้วยน้ำมีปริมาณฟินอลิกรวมมากที่สุด จากนั้นสารสกัดทั้งหมดถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus DMST 8840, Streptococcus pyogenes DMST 30653, Propionibacterium acnes DMST 14916, และ Pseudomona aeruginosa DMST 4739 กลุ่มแบคที่เรียก่อโรคช่องปากและลำคอ ได้แก่ Streptococcus mutans DMST 18771, Streptococcus sorbinus DMST 35719, และ Moraxella catarrhalis DMST 17121, และกลุ่มแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Escherichia coli DMST 4212, Salmonella Typhi DMST 22842, Shigella flexneri DMST 4423, และ Listeria monocytogenes DMST 17203 ด้วยวิธี disc diffusion ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง พบว่า สารสกัดสายพันธุ์พระราชทานที่ สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็น ยับยั้งเชื้อ S. Pyogenes ได้ดีที่สุดกลุ่มแบคทีเรียก่อโรคช่องปากและลำคอ พบว่า สารสกัดหญ้าแฝกสายพันธุ์พระราชทานที่สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็น ยับยั้งเชื้อ S. mutans ได้มากที่สุด ในขณะที่กลุ่มแบคทีเรีย แบคทีเรียก่อโรคระบบทางเดินอาหาร พบว่า L. monocytogenes เท่านั้นที่มีความไวต่อสารสกัดหญ้าแฝกสายพันธุ์เชียงใหม่ที่สกัดด้วยเอทานอล 95% มากที่สุด นอกจากนี้ผลการวิจัยยัง พบว่า สารสกัดด้วยน้ำไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้เลย จากนั้นนำสารสกัดที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ไปหาค่า MIC และ MBC พบว่า สารสกัดหญ้าแฝกสายพันธุ์แม่เตี๊ยะ พิษณุโลก ปางกว้าง เชียงใหม่ และนครสวรรค์ ที่สกัดด้วย เอทานอล 95 เปอร์เซ็น และอะซิโตน ให้ค่า MIC ต่ำสุดอยู่ที่ 62.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า MBC ต่ำสุดอยู่ที่ 125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร