Browsing by Author "ธันยพร ยานะวงษ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ (Fusarium endophyticum) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium oxysporum f. sp. capsici) และแอนแทรคโนส (Colletotrichum capsici) ในพริกหวาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ธันยพร ยานะวงษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพจากราเอนโดไฟท์เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคเที่ยวเหลือง Fusarium oxysporum f. sp. capsici และแอนแทรคโนส Colletotrichum capsici ในพริกหวาน ทำการทดสอบความสามารถราเอนโดไฟท์ในการละลายธาตุอาหาร บนอาหารแข็งทั้งหมด 271 ไอโชเลท พบว่า มีรา 8 ไอโซเลท ที่สามารถละลายธาตุอาหาร Ca3(PO4)2 และรา Fusarium endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) มีค่า Solubilization Index (S) มากที่สุด และมีประสิทธิภาพการละลายฟอสเฟต (P- solubilization) ในอาหารเหลวที่มีส่วนประกอบของ Ca3(PO4)2, CaCO3, CoCO3, ZnO, ZnCO3, FePO4, และดินขาว เท่ากับ 74.09, 49.98, 6.04, 124.35, 169.66, 287.26 และ 45.62 ตามลำดับ การศึกษาสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโต พบว่า สามารถผลิตกรดอินโดอะชีติก เท่ากับ 34.108 (μg/ml) และผลิตไซเดอร์โรฟอร์เท่ากับ 17.03 มิลลิเมตร ในขณะที่ทดสอบความสามารถในการผลิตเอนไซม์บนอาหารแข็ง พบว่า รา F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ไคติเนส เอนไซม์เซลลูเลส เอนไซม์โปรติเอส และเอนไซม์ไฟเตส มีค่า HC value เท่ากับ 10.00 5.14 10.44 และ 24.83 ตามลำดับ การนำรา F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อ C. capsici และ F. oxysporum f.sp. capsici ด้วยวิธี dual culture test พบว่า ราเอนโดไฟท์ F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. capsici และ Fusarium oxysporum f.sp. capsici ได้ 41.10% และ 44% ตามลำดับ การทดสอบผล F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) ต่อการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ พบว่า ที่ความเข้มข้น 1.0x108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ส่งผลให้เมล็ดพืชผัก 5 ชนิด ได้แก่ พริกหวาน กะหล่ำปลีรูปหัวใจ คะน้าเห็ดหอม ผักกาดขาว และมะเขือเทศ มีอัตราการงอกมากที่สุดเท่ากับ 85.55%, 75.55%, 95.55%, 86.66% และ 93.33% ตามลำดับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอัดเม็ด F. endophyticum (22 SGC 4V/4-1) พบว่า หลังจากเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ นาน 6 เดือน ที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส มีชีวิตรอดมากที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 87.55 เปอร์เซ็นต์ และการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากรา F. endophyticum (22 SGC 4V/4-1) ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคของพริกหวาน พบว่า สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านความสูง จำนวนใบ น้ำหนักสดต้น น้ำหนักราก ความยาวราก เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น รวมถึงปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในพืช ปริมาณฟอสฟอรัสในพืช และปริมาณโพแทสเซียม ดีกว่าชุดควบคุม และสามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคเหี่ยวเหลืองในพริกได้