Browsing by Author "ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนใน มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณเป็นบุคลากรสายสนับสนุน และหัวหน้างานของบุคลาการสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 280 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคสัมภาษณ์โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เรื่องสภาพการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าเชื่อมั่นที่ 0.96 ได้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคที่ 0.96 และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เรื่องแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า สภาพการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยภาพรวมมีการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพัฒนารายบุคคลมีการพัฒนาสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาองค์กร ตามลำดับ ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพมีการพัฒนาต่ำสุด สำหรับแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยามีดังนี้ 1) มหาวิทยาลัย และหน่วยงานในมหาวิทยาลัยควรมีการส่งเสริม หรือนโยบายเรื่องการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล เพื่อการพัฒนาคุณสมบัติ ความสามารถ หรือศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จเป้าหมายที่บุคลากรคาดหวังไว้ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเป้าหมายขององค์กร 2) ควรมีแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับทิศทาง ตามยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยผู้บังคับบัญชามีการติดตามผลการปฏิบัติงานกำกับดูแล ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงาน และมีการนำผลที่ได้จากการประเมินไปประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน 3) ควรมีการนำผลการวิเคราะห์รายบุคคลมาจัดทำแผนการพัฒนาอาชีพ หรือเส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน 4) ด้านการพัฒนาองค์กรควรมีการกำหนดเป้าหมายขององค์กร ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมร่วม อย่างชัดเจน และดำเนินงานพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น สายบังคับบัญชาควรมีลักษณะที่สั้น และเป็นองค์กรแบบสมัยใหม่ ควรมีการประเมินผลกระทบ และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับการพัฒนา และแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับงบประมาณทรัพยากรระยะเวลาที่สามารถปฏิบัติได้
- Itemการสำรวจและวิเคราะห์ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจระดับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันขององค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร จำนวน 52 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าคอนบาคเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test ANOVA Correlation และ Regression ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านวัฒนธรรมหรือจุดมุ่งหมายขององค์กร ด้านภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชา ด้านเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และด้านลักษณะงานมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ชุดตัวแปรทำนายทั้ง 52 ชุด มีความสัมพันธ์กับตัวแปรความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในระดับสูง (R = 0.995) ค่าสัมประสิทธิการทำนายมีค่า (R2 = 0.989) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีทั้งหมด 5 ตัวแปร ได้แก่ 1) หน่วยงานภายในคณะมีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางตามยุทธศาสตร์คณะ 2) บุคลากรมีความเต็มใจที่จะปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรอย่างเคร่งครัด 3) บุคลากรและเพื่อนร่วมงานมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน 4) มีการแก้ไขปัญหาและข้อร้องทุกข์อย่างมีประสิทธิภาพ 5) บุคลากรได้รับผลการทำงานของตนเองในด้านความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01