Browsing by Author "ธวัชชัย ทรายขาว"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาคุณภาพน้ำและภาระบรรทุกมลสารจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำอิงตอนบนและลำน้ำสาขา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ธวัชชัย ทรายขาวกว๊านพะเยาเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสำคัญของจังหวัดพะเยา รับน้ำจากลำน้ำสาขาทั้งหมด 11 ลำน้ำ ที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพน้ำในกว๊านพะเยามีระดับพอใช้ถึงเสื่อมโทรม และมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงทุกปี โดยมีแม่น้ำอิงตอนบนเป็นลำน้ำสายหลักที่มีพื้นที่รับน้ำมากที่สุดที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำของลำน้ำอิงตอนบน และลำน้ำสาขา เพื่อประเมินภาระบรรทุกมลสารจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินลุ่มน้ำอิงตอนบนและลำน้ำสาขา (ตั้งแต่หนองเล็งทรายถึงกว๊านพะเยา) และเสนอแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำเพื่อลดมลสารที่ไหลลงสู่แม่น้ำอิงตอนบน งานวิจัยนี้เริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงกันยายน 2561 คุณภาพน้ำของลำน้ำที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ลำน้ำอิงตอนบน และลำน้ำสาขา จำนวน 8 สาขา ได้แก่ 1) ลำน้ำแม่ใจ 2) ลำน้ำแม่สุก 3) ลำน้ำแม่จว้า 4) ลำน้ำแม่เหยี่ยน 5) ลำน้ำแม่ปืม 6) ลำน้ำแม่ตุ้ม 7) ลำน้ำแม่ต๋ำ และ 8) ลำน้ำแม่ต๋อม ผลจากการศึกษา พบว่า ปริมาณภาระบรรทุกมลสารมีแนวโน้มที่คล้ายกัน คือ ช่วงฤดูฝนจะมีค่าสูงกว่าฤดูแล้ง โดยลำน้ำแม่ใจมีภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่ไหลลงสู่แม่น้ำอิงตอนบนสูงที่สุดเท่ากับ 437 ตัน/ปี ลำน้ำแม่ปืมมีภาระบรรทุกแอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม และของแข็งแขวนลอยสูงที่สุด เท่ากับ 65.2, 14.4 และ 1,380.0 ตัน/ปี ตามลำดับ ในรอบปี แม่น้ำอิงตอนบนสามารถรองรับมลสารสารอินทรีย์ แอมโมเนีย และฟอสฟอรัส รวมได้ 340, 113 และ 11 ตัน/ปี ตามลำดับ แต่มีการปลดปล่อยมลสารลงไปเกินความสามารถในการรองรับมลสารดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 481.24, 122.38 และ 261.81 ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์แหล่งที่มาของมลสารจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า ภาคการเกษตรกรรม (เพาะปลูก) เป็นแหล่งพื้นที่หลักของการใช้ประโยชน์ที่ดินและเป็นแหล่งปล่อยมลสารหลักโดยเฉพาะภาระบรรทุกแอมโมเนียและฟอสฟอรัสรวมเนื่องจากขาดการวิเคราะห์แร่ธาตุในดิน ทำให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงเกินความต้องการของพืชปุ๋ยสั่งตัดเป็นแนวทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการรั่วไหลของมลสารลงสู่แหล่งน้ำ โดยทำการวิเคราะห์แร่ธาตุในดินและจัดทำปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะดินในพื้นที่ หากมีการนำปุ๋ยสั่งตัดมาใช้ในการเกษตรกรรมจะช่วยลดภาระบรรทุกแอมโมเนียและฟอสฟอรัสรวมได้ถึงร้อยละ 17.40 และ12.80 ตามลำดับ