Browsing by Author "ธราธิป วงษ์แก้ว"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ธราธิป วงษ์แก้วการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษารูปแบบเชิงทฤษฎีของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3) สร้างและประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ซึ่งผู้วิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 230 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 460 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง รวม 230 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านชุมชน และปัจจัยด้านหน่วยงานต้นสังกัด 2) การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม ด้านการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ครูมีความรอบรู้ในศาสตร์สมัยใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในพื้นที่เชิงรุก ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการติดตามตรวจสอบและประเมินผลด้วยระบบการบริหารงานที่ทันสมัย และยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและดำเนินชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อยู่ในระดับมาก