Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ธมลวรรณ เพชรภา"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การศึกษากลไกการเร่งปฏิกิริยาและสมบัติความจำเพาะต่อสับสเตรตของเอนไซม์เบต้า-อะลานีนซินเทสจากยีสต์ด้วยระเบียบวิธี ONIOM
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ธมลวรรณ เพชรภา
    เอนไซม์เบต้าอะลานีนซินเทส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนสุดท้ายของวิถีรีดักทีฟมีความจำเพาะต่อสับสเตรต เรียกว่า เอ็น-คาร์บามิล-เบต้าอะลานีน หรือ NCβA จะสลายตัวและ ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และ เบต้า-อะลานีน ซึ่งจัดเป็นสารสำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของกลูโคส การต้านอนุมูลอิสระ และการพัฒนาของระบบประสาท ส่วนกลางและเรตินา งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลไกการเร่งปฏิกิริยาและความจำเพาะต่อสับสเตรตของเอนไซม์ โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณ ONIOM2 (B3LYP/6-31G(d,p):PM3) นอกจากนี้ยังพิจารณาสับสเตรตที่มีหมู่แทนที่แตกต่างกันที่ตำแหน่ง R2 และ R3 ได้แก่ อะตอมไฮโดรเจน หมู่เมทิล หมู่ฟีนิล หมู่เอมีน จากผลการคำนวณ พบว่าพลังงานการยึดเกาะของ R2 เป็นอะตอมไฮโดรเจน หมู่เมทิล หมู่เอมีน หมู่ฟีนิล และ R3 เป็นหมู่เมทิล มีค่าพลังงาน คือ -83.21, -76.23, -70.62, -25.03 และ -75.60 กิโลแคลอรี่ต่อโมล ตามลำดับ ค่าพลังงานยึดเกาะที่ต่ำที่สุด คือ R2 เป็นหมู่ฟีนิล และมีค่าพลังงานศักย์ในขั้นกำหนดอัตรา คือ 18.39, 16.58, 20.44, 28.09 และ 22.70 กิโลแคลอรี่ต่อโมล ตามลำดับ ค่าพลังงานกระตุ้นที่สูงที่สุด คือ R2 เป็นหมู่ฟีนิล สามารถอธิบายได้โดยการผลักกันของหมู่ฟีนิลที่มีขนาดใหญ่ในขณะที่เข้าทำปฏิกิริยา ซึ่งกลไกจะเกิดอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนของปฏิกิริยาการแทนที่ตำแหน่งหมู่คาร์บอนิลของสับสเตรตโดยไอออนไฮดรอกไซด์ ขั้นที่สอง คือ การถ่ายโอนโปรตอนจาก Glu159 ไปยังอะตอมไนโตรเจนของสารตั้งต้น และขั้นสุดท้าย คือ การแตกออกของพันธะ C-N ของสับสเตรต และได้เบต้า-อะลานีนเป็นผลิตภัณฑ์

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback