Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ธนโชติ เพ็ชรหาญ"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาและอุปสรรคในการมีทนายความขอแรงในชั้นจับกุมของพนักงานตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ธนโชติ เพ็ชรหาญ
    ชั้นการจับกุม เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 บัญญัติว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว และให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำได้ในชั้นสอบสวน และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี แม้ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณจักรไทย พุทธศักราช 2560 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตาม แต่โดยสภาพความเป็นจริงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ปรากฎว่าการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 บัญญัติแต่เพียงว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมมีสิทธิพบ และปรึกษาผู้ซึ่งจะป็นทนายความได้เป็นการเฉพาะตัว โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบ และปรึกษาทนายความในทันทีที่มีการจับกุม และไม่มีการกำหนดบทบัญญัติที่ให้รัฐต่อจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ดังนั้น ข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 7/1 โดยการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบ และปรึกษาทนายความในทันทีที่มีการจับกุม 2) การกำหนดบทบัญญัติที่ให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นจับกุมในกรณีที่มีฐานะยากจน และไม่มีความสามารถในการหาทนายความได้ด้วยตนเอง 3) ในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปนั้น ถือว่าเป็นคดีอาญาที่มีอัตราโทษร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อชีวิตและเสรีภาพของผู้ต้องหา เป็นอย่างมากจึงควรมีทนายความร่วมอยู่ด้วยในการแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อทนายความได้คัดค้าน หากการแจ้งข้อกล่าวหาไม่ถูกต้องเพื่อเป็นการรักษาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ให้สมดั่งเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback