Browsing by Author "ธนิต กิตติวรพงษ์กิจ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ธนิต กิตติวรพงษ์กิจการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารองค์กรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ประชากรในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 1,050 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ จากผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด อยู่ในระดับมาก 2) จากผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันทุกด้าน และจำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาซึ่งมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05