Browsing by Author "ธนภัทร บุญเพ็ชร์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) ธนภัทร บุญเพ็ชร์งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ POE ร่วมกับโปรแกรม Solidworks และแผนการจัดการเรียนรู้แบบแบบปกติ (5E) เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติบรรยาย และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) หลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05