Browsing by Author "ทรงพล ผัดวงศ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการลดค่าไฟฟ้าด้วยการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ทรงพล ผัดวงศ์การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการลดค่าไฟฟ้าด้วยการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ขั้นตอนแรกของการศึกษาเป็นการจำลองผลประหยัดค่าไฟฟ้าจากการเปลี่ยนมาใช้ค่าไฟฟ้าแบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU) จากการนำข้อมูลโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2558 ตามประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาจัดทำแผนภูมิผลประหยัดค่าไฟฟ้าจากการเปลี่ยนค่าไฟฟ้าจากอัตราปกติ มาเป็นอัตรา TOU พบว่า ผลประหยัดค่าไฟฟ้าขึ้นกับตัวแปรด้านพฤติกรรมของการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของตนเอง แล้วนำมาพิจารณาในแผนภูมิ ทำให้ทราบความเป็นไปได้ถึงผลประหยัดค่าไฟฟ้า เมื่อเปลี่ยนจากค่าไฟฟ้าอัตราปกติมาเป็นค่าไฟฟ้าอัตรา TOU นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่สำคัญที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถเปลี่ยนมาใช้อัตรา TOU คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย อัตรา 1.1.1 และ 1.1.2 ที่แรงดัน 22-33 kV จะต้องมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา On Peak ไม่เกิน 0.7 ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย อัตรา 1.1.1 และ 1.1.2 ที่แรงดันต่ำกว่า 22 kV และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก จะต้องมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา On Peak ไม่เกิน 0.52 ขั้นตอนถัดมาของการศึกษาได้ทำการจำลองวิธีการเลือกขนาดพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic: PV) ที่เหมาะสมสำหรับค่าไฟฟ้าแบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU) เพื่อหาขนาดต่ำสุดและสูงสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะได้รับประโยชน์จากอัตรา TOU สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ปริมาณไฟฟ้ามากกว่า 150 หน่วยต่อเดือน และมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 22 kV ที่พิจารณาการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดพะเยา และกำหนดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ใช้สำหรับช่วง On Peak ผลที่ได้จากการศึกษา คือ แผนภูมิการหาขนาดต่ำสุดและสูงสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกขนาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมจากแผนภูมิเหล่านี้ การกำหนดขนาดต่ำสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนติดตั้ง PV (kWhT,E) และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak (αE) ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือนและสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak มากกว่า 0.8 จะไม่สามารถได้รับประโยชน์จากอัตรา TOU และการกำหนดขนาดสูงสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนติดตั้ง PV (kWhT,E) และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak (αE) ถ้าหากปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อเดือนและสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak สูงขึ้น จะทำให้ขนาดพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดที่สามารถติดตั้งเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากอัตรา TOU สูงขึ้นตาม