Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ทรงกริช อินตา"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย กรณีศึกษาการประเมินการกักเก็บคาร์บอนโดยประยุกต์ใช้ดัชนีพืชพรรณ NDVI พื้นที่ป่าเต็งรังในมหาวิทยาลัยพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ทรงกริช อินตา
    ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำลายป่าและทำให้ป่าเสื่อมโทรมก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการปลูกป่าและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบนิเวศของโลก โดยระบบนิเวศป่าไม้มีบทบาทสำคัญในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง และกักเก็บในรูปของคาร์บอนในมวลชีวภาพของต้นไม้ ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินและใต้ดินในพื้นที่ระบบนิเวศป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 11.97 tC/rai (43.90 tCO2eq) แบ่งเป็นการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินในส่วนของรากมีค่าเท่ากับ 9.43 (34.56 tCO2eq) และ 2.55 tC/rai (9.33 tCO2eq) ตามลำดับ (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562) นอกจากนี้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้มีค่า 723 tCO2eq/year คิดเป็นมูลค่าคาร์บอนเครดิต โดยใช้กลไกตลาดคาร์บอน ได้แก่ Verified carbon standard (VCS), European Union Emissions Trading System (EUETS) และ Thailand Voluntary Emission Reduction (T-VER) มีมูลค่าประมาณ 95,110.54, 401,120.13 และ 24,842.94 บาท/ปี ตามลำดับ ซึ่งในประเทศไทยการซื้อขายขึ้นอยู่กับการตกลงกันในตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังไม่ได้ประเมินการกักเก็บคาร์บอนในไม้หนุ่ม และในดินดังนั้นจึงควรปรับปรุงวิธีการเก็บข้อมูลให้มีความเหมาะสมและศึกษาในระยะยาวเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกลไกการกักเก็บคาร์บอนในระบบป่าไม้ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจเชิงบวกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพิ่มรายได้จากแหล่งกักเก็บคาร์บอนในธรรมชาติ และเป็นทางเลือกในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากจากชุมชนเพื่อความยั่งยืนต่อไป

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback