Browsing by Author "ทนันเดช ยงค์กมล"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ทนันเดช ยงค์กมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ วิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 3 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ กลุ่มประชากร คือ คณะผู้บริหารและครูของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 40 แห่ง จำนวน 680 คน ประจำปีการศึกษา 2560 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.897 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาของการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีสภาพการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ งานวิชาการ และงานทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ งานบุคคล และงานงบประมาณ ส่วนปัญหาการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานทั่วไป และงานบุคคล 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนออกเป็น 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคกลาง ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันออก ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันตก และศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตปกครองพิเศษ โดยมีการสร้างองค์ประกอบเครือข่าย 6 องค์ประกอบ ในการบริหารโรงเรียนทั้ง 40 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้แก่ 1) การมีมุมมองร่วมกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การประสานงานเครือข่าย 4) การให้คำปรึกษาเครือข่าย 5) การสร้างสรรค์ผลงาน และ 6) การกำกับดูแลและติดตาม และ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ทั้งด้านความเป็นประโยชน์และด้านความเหมาะสม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเป็นประโยชน์ และ 2) ด้านความเหมาะสม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นย่อย พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกข้อ ยกเว้นประเด็นเกี่ยวกับมีความเหมาะสมที่เกี่ยวข้อง รูปแบบนี้ได้ระบุกระบวนการ/ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายและองค์ประกอบของเครือข่ายได้อย่างชัดเจน และกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่ายตามรูปแบบมีความชัดเจน เหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมาก