Browsing by Author "ณัฐกฤตา วิเศษสุมน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อเพิ่มปริมาณต้นมะละกอในสภาพปลอดเชื้อ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ณัฐกฤตา วิเศษสุมนมะละกอเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความต้องการผลผลิตปริมาณมาก การผลิตต้นพันธุ์ให้ได้ปริมาณ และคุณภาพจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกมะละกอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการชักนำการเพิ่มปริมาณยอด และการชักนำรากของมะละกอด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยพบว่า ขั้นตอนการฟอกที่เหมาะสม คือ การแช่เมล็ดมะละกอด้วย GA3 ความเข้มข้น 250 ppm นาน 24 ชั่วโมง ฟอกด้วย NaOCl ความเข้มข้น 4.5% นาน 10 นาที จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร 1/2MS ต้นพืชมีเปอร์เซ็นต์การงอกมากที่สุด การศึกษาผลของธาตุอาหาร และสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเพิ่มปริมาณยอด และการชักนำรากของมะละกอพันธุ์ TA151 และ พันธุ์แขกดำ พบว่า มะละกอพันธุ์ TA151 ให้ความเข้มข้นของธาตุอาหาร MS เป็น 0.5 และ 1.0 เท่า ร่วมกับการใช้กลูโคส 1.5% ให้จำนวนยอดมากที่สุด ส่วนการปรับธาตุอาหาร MS เป็น 1.5 เท่า และใช้ซูโครส 3.0% ให้ความสูงยอดดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการปรับธาตุอาหาร น้ำตาล และการเติม FeNa-EDDHA ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์แขกดำ ส่วนการศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช พบว่า การใช้ Thidiazuron (TDZ) ความเข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ 1-Naphthaleneacetic acid (NAA) ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร เหมาะสมที่สุดสำหรับการเพิ่มยอดของมะละกอพันธุ์ TA151 ในขณะที่การเพิ่มยอดของพันธุ์แขกดำสามารถใช้สูตรอาหารที่เติม 6-Benzylaminopurine (BAP) ความเข้มข้น 0.3 หรือ 0.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้การเติม Kinetin ความเข้มข้น 0.6 มิลลิกรัมต่อลิตร อย่างเดียว ให้จำนวนยอดได้สูงเช่นกัน ส่วนการชักนำรากของมะละกอพันธุ์แขกดำ เมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่มีการเติม NAA ความเข้มข้น 0.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ในที่สว่าง ทำให้ต้นมะละกอมีจำนวนรากและความยาวรากดีที่สุด