Browsing by Author "ณัฐกฤตา กันทาใจ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ณัฐกฤตา กันทาใจการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 136 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงโดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) จากผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารเข้าใจในความรู้ และทักษะความสามารถของคนในสถานศึกษา รองลงมา คือ ปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล มีวิสัยทัศน์ในยุคดิจิทัล เป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ปฏิบัติงานเป็นเลิศอย่างมืออาชีพในยุคดิจิทัล ซึ่งอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ภาพรวมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกันเช่นกัน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบตามประสบการณ์การปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบัน พบว่า ภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้าน