Browsing by Author "ชุ่ม พิมพ์คีรี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemวรรณลีลาในกลอนลำอีสาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ชุ่ม พิมพ์คีรีวิทยานิพน์นี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอวรรณลีลา และลักษณะภาษาวรรณลีลาในกลอนลำอีสาน ตามแนวคิดรูปแบบวัจนลีลาและแนวคิดสุนทรียศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลกลอนลำอีสาน จำนวน 23 เรื่อง ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ รูปแบบการนำเสนอวรรณลีลาในกลอนลำอีสาน มีข้อแตกต่างของวรรณลีลาทั้ง 5 ระดับ คือ วรรณลีลาแบบตายตัว พบว่า ในการเปิดเรื่องโดยการใช้ภาษาบาลี จำนวน 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 13.00 ใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน จำนวน 20 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 87.00 ในการนำเสนอสารัตถะของเรื่องโดยใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน จำนวน 23 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100 และในการจบเรื่องมี 2 ลักษณะ คือ การใช้คาถาภาษาบาลี จำนวน 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 21.74 และจบเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นอีสาน จำนวน 18 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 78.26 วรรณลีลาแบบเป็นทางการ วรรณลีลาแบบหารือ วรรณลีลาแบบเป็นกันเอง และวรรณลีลาแบบสนิทสนม พบว่า มีการใช้ระดับของภาษาได้ครบทั้ง 23 เรื่อง ลักษณะทางภาษาวรรณลีลาในกลอนลำอีสาน พบว่า ในด้านกลวิธีการใช้เสียงสัมผัส มีการใช้ 3 ลักษณะ คือ การเล่นเสียงสัมผัสสระ การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ และการเล่นเสียงวรรณยุกต์ในการเล่นเสียงสัมผัสสระ พบการใช้ 2 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระระหว่างวรรค และเสียงสัมผัสสระในวรรค โดยเสียงสัมผัสสระในวรรค พบการใช้ 6 รูปแบบ เสียงสัมผัสพยัญชนะ พบการใช้ 7 รูปแบบ ส่วนกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า วรรณลีลาในกลอนลำอีสาน มีการใช้โวหารภาพพจน์ 8 ประเภท คือ อุปมา อุปลักษณ์ อนุนามนัย อธินามนัย บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัทพจน์ และอรรถวิภาษ ด้านลีลาภาษา พบ 4 ลีลา คือ เสาวรสจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังศพิสัย และโวหาร พบทั้ง 5 โวหาร คือ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร และอุปมาโวหาร ผลการศึกษาวรรณลีลาในกลอนลำอีสานในครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงผลการวิเคราะห์รูปแบบ การนำเสนอภาษาและลักษณะของภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบทอดสานต่ออุดมการณ์ที่ฝังแฝง อยู่ในวรรณกรรมกลอนลำอีสานด้วย