Browsing by Author "ชาญวิทย์ คิดอ่าน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนมิติใหม่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ชาญวิทย์ คิดอ่านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกของประเทศไทย ก่อให้เกิดกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขึ้นในระดับชุมชนและระดับจังหวัด เช่น การไกล่เกลี่ยของศูนย์ดำรงธรรมตำบล /อำเภอ /จังหวัด, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชุมชน ซึ่งเป็นการนำกระบวนการยุติธรรมกระแสรองมาใช้ ภายใต้ระเบียบปฏิบัติของประกาศกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา ฝ่ายนิติบัญญัติได้ออกกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 ถือเป็นกฎหมายกลางที่ใช้เป็นแม่แบบในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ส่งผลให้เกิดองคาพยพใหม่ คือ “ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน” (ศกช.) ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นได้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน โดยกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ ศกช. ทำงานได้อย่างประสบผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อช่วยลดปริมาณคดีในชั้นศาล ลดงบประมาณแผ่นดิน โดยคู่กรณีสามารถยุติข้อพิพาทโดยผ่านความช่วยเหลือและอำนวยการของ ศกช. อย่างเหมาะสมและไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันและก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระยะยาว ส่งผลให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ พบว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใน ศกช. ยังมีปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติ สาเหตุมาจากความรู้ความเข้าใจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ไกล่เกลี่ยที่ไม่เพียงพอ กระบวนการของ ศกช. ที่มีขั้นตอนและเอกสารมากมาย และปัญหาเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท การกำหนดคุณสมบัติผู้ไกล่เกลี่ยที่ยังไม่เหมาะกับสภาพความเป็นจริงเท่าที่ควร อีกทั้งปัญหาความพร้อมต่อการรับรองบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท เนื่องจากกฎหมายให้อำนาจผู้ไกล่เกลี่ยในการทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีผลบังคับกันได้ในทางกฎหมาย โดยให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นผู้ดูแลและรับรองบันทึกข้อตกลงระงับพิพาทโดยผ่านทางยุติธรรมจังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดก็มี เจ้าหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ประจำการจำนวนไม่มาก ดังนั้น จึงควรปรับปรุงกฎหมายในส่วนต่างๆ เช่น กำหนดคุณสมบัติผู้ไกล่เกลี่ยของ ศกช. ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้มีการจัดอบรมเพิ่มพูนทักษะของผู้ไกล่เกลี่ยและคณะทำงานของ ศกช. อย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพใน แต่ละจังหวัดให้มีปริมาณเพียงพอ เพื่อให้การรับรองบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทเกิดความรวดเร็ว และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562