Browsing by Author "ชัยณรงค์ วงค์สรรศรี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะซากของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชัยณรงค์ วงค์สรรศรีไก่พันธุ์ปาปาซุงป็นไก่กระดูกดำพื้นเมืองของไทยที่มีศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาลักษณะปรากฏ และประสิทธิภาพการผลิตของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง จำนวน 3 รุ่น จากผลการทดลอง พบว่า ลักษณะปรากฏคงที่ของไก่ ได้แก่ หงอนเป็นแบบหงอนจักร ตาสีดำ แข้งสีดำ สีขนสร้อยคอ และสีขนลำตัวเป็นสีขาว ลักษณะปรากฎที่มีความหลากหลาย ได้แก่ สีหงอน สีใบหน้า สีปาก และสีตุ้มหู น้ำหนักตัวเฉลี่ยที่อายุ 16 สัปดาห์ของไก่เพศผู้ โดยในรุ่นที่ 1, 2 และ 3 มีค่าเท่ากับ 1,230±120.27, 1,398.01±173.98 และ 1,458.93±127.73 กรัม และเพศเมียมีค่าเท่ากับ 928.02±82.46, 1036.40±81.22 และ 1120.83±74.84 กรัม (P < 0.05) ตามลำดับ และอัตราการเจริญเติบโตของลูกไก่ รุ่นที่ 3 ทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีค่าที่สูงกว่ารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของระดับของโปรตีนและสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง ในช่วง 0-6 สัปดาห์ จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าน้ำหนักตัวสุดท้าย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันของไก่กลุ่มที่ได้รับโปรตีนสูงมีค่ามากกว่าไก่กลุ่มที่ได้รับโปรตีนต่ำ สัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนในอาหาร ไม่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวสุดท้ายน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน การลดระดับของโปรตีน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ในช่วง 8-16 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กินได้รวมและปริมาณโปรตีนที่กินรวมได้ มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ตามการใช้สัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนที่สูงขึ้น และสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีน มีผลต่อลักษณะซากบางประการ การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของน้ำหนักฆ่า 3 ระดับ คือ 1,200 กรัม, 1,500 กรัม และ 1,700 กรัม ต่อลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำพันธุ์ปาปาซุง ผลการศึกษา พบว่า ไก่ที่มีน้ำหนักฆ่า 1,200 กรัม มีเปอร์เซ็นต์ซากต่ำที่สุดและค่าการสูญเสียน้ำเนื่องจากการเก็บรักษาของเนื้อสะโพกสูงที่สุด 65.32 และ 3.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (P < 0.05) น้ำหนักฆ่าไม่มีผลต่อองค์ประกอบทางเคมีและค่าสีของเนื้อ