Browsing by Author "ชัญญานุช อาจคำ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ชัญญานุช อาจคำการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและวางแผนพัฒนาการทำงาน การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ และกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลักทั้งหมด 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยจูงใจและปัจจัยด้านสุขอนามัยส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factor Theory) ของเฟรเดอริก เฮิร์ซเบิร์ก (Herzberg, 1959) ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย 1) ความสำเร็จในการทำงาน 2) การได้รับการยอมรับนับถือ 3) ลักษณะของงานที่ทำ 4) ความรับผิดชอบ 5) ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และปัจจัยสุขอนามัย ประกอบด้วย 1) ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ 3) นโยบายบริษัท 4) สภาพแวดล้อมทำงาน 5) ความมั่นคงในการทำงาน 6) การควบคุมดูแลของหัวหน้างาน แนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและวางแผนพัฒนาการทำงาน ได้แก่ การตอบสนองความต้องการระดับต้น และการตอบสนองความต้องการระดับสูงข้อเสนอแนะต่อองค์การ ได้แก่ บริษัทควรพิจารณาค่าตอบแทนโดยรวม ต้องมีการวางแผน จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะพนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในบริษัท รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับพนักงานบริษัทเอกชนนำไปสู่ความสำเร็จ