Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ชัชศรัณย์ จิตคงคา"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ความนึกเปรียบเทียบตัวละครในนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ชัชศรัณย์ จิตคงคา
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความนึกเปรียบเทียบตัวละครและศิลปะ การใช้ความนึกเปรียบเทียบตัวละครในนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ โดยศึกษาข้อมูลจากนวนิยายดีเด่นแห่งชาติระหว่าง พ.ศ. 2515-2559 จำนวน 29 เรื่อง มีตัวละคร 31 ตัว ตามแนวคิดความนึกเปรียบเทียบ แนวคิดการจำแนกหมวดหมู่ทางความหมายของคำและสำนวนในภาษาไทย และแนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์การใช้ภาษาในงานวรรณกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) การประกอบสร้างความนึกเปรียบเทียบตัวละครในนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ พบ รูปภาษาความนึกเปรียบเทียบตัวละครกับสิ่งมีชีวิต ปรากฏ 3 ลักษณะ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และพืช และรูปภาษาความนึกเปรียบเทียบตัวละครกับสิ่งไม่มีชีวิตปรากฏ 6 ลักษณะ ได้แก่ วัตถุสิ่งของ สิ่งเหนือธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ เวลา สถานที่ และอาหาร 2) ศิลปะการใช้ความนึกเปรียบเทียบตัวละครในนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ จำแนกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ กลวิธีการสื่อความหมาย มี 3 ลักษณะ ได้แก่ สื่อสาระทางกายภาพ สื่อปัญญารมณ์ และสอดสังคม องค์ประกอบนวนิยาย มีความสัมพันธ์ความนึกเปรียบเทียบตัวละครกับชื่อเรื่อง แก่นเรื่อง โครงเรื่องและลักษณะตัวละคร และ 3) ศิลปะการใช้ภาษา มี 12 ลักษณะ คือ อุปมา อุปลักษณ์ ปฏิรูปพจน์ การกล่าวประชด ชมโฉม ลดความหมายของคำ ศาสนา ปฏิปุจฉา สัมพจนัย นามนัย ซ้ำคำ และอติพจน์ การประกอบสร้างความนึกเปรียบเทียบตัวละครจากที่พบข้างต้น แสดงถึงชั้นเชิงการประพันธ์ของนักเขียน สะท้อนความจริงของชีวิตตัวละครที่ไม่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เป็นเครื่องมือถ่ายทอดสารจากนักเขียนไปสู่ผู้อ่าน ให้เข้าใจเนื้อหาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เชื่อตามและติดตามไปตลอดเรื่อง ตลอดจนเข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร และเข้าใจแนวคิดของเรื่องด้วยการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำลักษณะการใช้ภาษาเชิงวรรณศิลป์ ด้านการสร้างความนึกเปรียบเทียบไปปรับประยุกต์ใช้สร้างสรรค์วรรณกรรม ให้ผู้อ่านเข้าใจสิ่งที่ผู้แต่งต้องการ และเข้าถึงแนวคิดของผู้แต่งทำให้มองเห็นโลกทัศน์ของนักเขียน และประจักษ์ในคุณค่าของนวนิยายไทย

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback