Browsing by Author "ชวลิต กันธิยะ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ชวลิต กันธิยะการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในศูนย์การศึกษาพิศษ ประจำจังหวัด กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 248 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แล้วนำมากำหนดสัดส่วนตามขนาดของประชากรในแต่ละศูนย์ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่า (T-test), (F-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เปรียบเทียบโดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินพัฒนาการ รองลงมา ด้านการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามลำดับ และส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05