Browsing by Author "ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของญี่ปุ่น และของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎีการบริหารงานวิชาการปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างรูปแบบและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตรวัดประเมินรวมค่า (Summated Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s Alpha) อยู่ระหว่าง 0.95-0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และของญี่ปุ่น ทั้ง 5 ด้าน ส่วนใหญ่มีประเด็นที่เหมือนกัน แต่มีประเด็นที่แตกต่าง ได้แก่ 1.1) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรปฐมวัย ในการจัดทำแผนงานวิชาการปฐมวัย สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยสถานศึกษา แต่ญี่ปุ่นบริหารจัดการโดย กลุ่มผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานวิชาการปฐมวัยด้วย และวิธีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิชาการปฐมวัย ของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครมีการประชุมสรุปผลงานรายเดือน และรายภาคการศึกษา ส่วนของญี่ปุ่นมีการประชุมสรุปผลงานรายวัน รายเดือนและรายภาคการศึกษา 1.2) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา สถานศึกษาระดับปฐมวัยของญี่ปุ่นไม่เน้นในประเด็นการส่งเสริมและจัดให้มีคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีปัจจัย 9 ด้าน ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎี โดยการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักในการส่งผลสูงสุด คือ ด้านผู้ปกครองและชุมชน รองลงมา คือ ด้านครูผู้สอน และ 4) ผลประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย PIE Model โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด