Browsing by Author "จุฑาภรณ์ ทาจีนะ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) จุฑาภรณ์ ทาจีนะการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) รูปแบบไม่จับคู่ย้อนหลัง (Unmatched case-control study) วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดโรคพยาธิใบไม้ตับเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้าร่วมตรวจอุจจาระตามโครงการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอดอกคำใต้ ปี 2564 แบ่งออกเป็นกลุ่มศึกษา 92 คน กลุ่มควบคุม 184 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test และ Logistic regression ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทางประชากรของกลุ่มศึกษา และกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ เพศหญิง (57.6 , 81.0%) อายุ 45-59 ปี (57.6, 60.3%) การศึกษาระดับประถมศึกษา (73.8, 46.6%) อาชีพเกษตรกร (85.9, 84.2%) ประวัติคนในครอบครัวเคยตรวจอุจจาระแต่ไม่พบพยาธิใบไม้ตับ (43.5, 67.4%) ไม่มีญาติสายตรงเคยป่วยด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี (93.5. 92.8%) การรับรู้ความรุนแรงปานกลาง (59.8, 64.1%) การรับรู้ความเสี่ยงสูง (51.1, 50.5%) การรับรู้ประโยชน์สูง (82.6, 77.7%) รับรู้อุปสรรคสูง (82.6, 58.2%) ปัจจัยเสี่ยงพบว่า เพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ 2.67 เท่า (adjusted OR = 2.67, 95% C: 1.48-5.15) เมื่อเทียบกับเพศหญิงการได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาลดโอกาสการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 67 (adjusted OR = 0.33, 95% C: 0.17-0.64) การมีคนในครอบครัวเคยตรวจพบพยาธิใบไม้ตับทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ 4.51 เท่า (adjusted OR = 4.51, 95% CI: 2.30-8.86) และการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นประจำ ช่วยป้องกันการติดโรคพยาธิใบไม้ตับได้ถึงร้อยละ 49 (adjusted OR = 0.51, 95% CI: 0.28-0.91 ดังนั้น จึงควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกระดับ ในการหาแนวทางการป้องกันการติดโรคพยาธิใบไม้ตับเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่