Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "จิรวัฒน์ ดวงแก้ว"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาเทคนิคสร้างดรรชนีสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่ในรูปแบบวัตถุของจาวาสคริปต์
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) จิรวัฒน์ ดวงแก้ว
    การใช้รูปแบบวัตถุของจาวาสคริปต์ (JavaScript Object Notation, JSON) ในฐานข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงสัมพันธ์ (Not only Structured Query Language, NoSQL) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาข้อจำกัด NoSQL โดยเฉพาะส่วนของเทคนิคการจัดทำดรรชนีแบบหนาแน่น (Dense Index) แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One) และดรรชนีกระจาย (Sparse Index) แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many) สำหรับชุดข้อมูลไฟล์ JSON ขนาดใหญ่ จึงเป็นข้อจำกัดอันท้าทายเป็นอย่างมาก งานวิจัยครั้งนี้ ได้เสนอการพัฒนาเทคนิคสร้างดรรชนีสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่ในรูปแบบวัตถุของจาวาสคริปต์ (The development of Indexing techniques for large-scale data in the JavaScript object format) ผู้วิจัยได้จำลองข้อมูลไม่ต่ำกว่าแปดแสนรายการขึ้นไป ซึ่งมีขนาดไฟล์ข้อมูลไม่ต่ำกว่าสามสิบกิ๊กกะไบต์ อยู่ภายใต้ชนิดไฟล์ JSON นำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ออกแบบขั้นตอนวิธี โดยผสมผสานบางเทคนิคของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational databases) ได้แก่ ดรรชนีแบบหนาแน่น (Dense Index) และดรรชนีแบบกระจาย (Sparse Index) และการประยุกต์ใช้โครงสร้างแบบแถวลำดับ (Array) เทคนิคการค้นหาเชิงเส้น (Linear search, LS) เทคนิคการค้นหาแบบทวิภาค (Binary search, BS) เทคนิคต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค (Binary search Tree, BST) และเทคนิค Adelson-Velskii Landis Tree (AVL Tree) รวมถึงนำภาษาไพทอน (Python) สำหรับทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพทางด้านระยะเวลาของดรรชนีในการสืบค้นหาข้อมูล ผู้วิจัยได้นำเทคนิคข้างต้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเทคนิคสร้างดรรชนีสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่ในรูปแบบวัตถุของจาวาสคริปต์ ได้แก่ ขั้นตอนวิธีสำหรับการจัดทำดรรชนีแบบหนาแน่นและดรรชนีแบบกระจาย ขั้นตอนเทคนิคการค้นหาเชิงเส้น (Linear search, LS) จากนั้นดำเนินการปรับแต่งโครงสร้างต้นไม้ให้เหมาะสมกับชุดข้อมูลของเทคนิค BS BST และ AVL Tree ซึ่งอยู่ภายใต้ชุดข้อมูลไฟล์ JSON ขนาดใหญ่ ท้ายที่สุด ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดทำดรรชนีแบบหนาแน่น (Dense Index) สามารถลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลถึง 98.57% จากวิธีการไม่มีดรรชนี (Non Index) และดรรชนีแบบกระจาย (Sparse Index) สามารถลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลถึง 98.45% นอกจากนี้เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลต่อคำหลักด้วยเทคนิค LS BS BST และ AVL Tree ผลการวิจัยพบว่า เทคนิค AVL Tree มีประสิทธิภาพเวลาที่เร็วที่สุดในการค้นหาต่อคำหลัก สำหรับกรณีดรรชนีแบบหนาแน่น โดยใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.005 มิลลิวินาที ในทางกลับกันเทคนิค BS มีประสิทธิภาพเวลาที่เร็วที่สุดในการค้นหาต่อคำหลัก สำหรับกรณีดรรชนีแบบกระจาย โดยใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.011 มิลลิวินาที และพบว่า เทคนิค LS มีประสิทธภาพเวลาที่ช้าที่สุดในการค้นหาต่อคำหลักทั้งสองดรรชนี

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback