Browsing by Author "จิตราภรณ์ เถรวัตร"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) จิตราภรณ์ เถรวัตรการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย 2) เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย 3) เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการนำร่องของแผนยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ณ พื้นที่กรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือ ได้แก่ แบบรายการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว สัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา มีประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว กลุ่มละ 100 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) จังหวัดสุพรรณบุรี มีศักยภาพด้านการมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่โดดเด่นด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม มีศักยภาพด้านการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน มีศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวจากประชากรในจังหวัด และศักยภาพด้านการสร้างกิจกรรม เพื่อปลุกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาด้านจิตใจ สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว 2) แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดสุพรรณบุรี จะให้ความสำคัญกับการสร้างวิสัยทัศน์ของจังหวัด ในรูปของการสร้าง “แบรนด์ท่องเที่ยวสุพรรณบุรี จุดหมายปลายทางที่โดดเด่นและไม่รู้ลืมแห่งอาเซียน” โดยมีตำแหน่งทางการตลาด 4 ด้าน คือ แบรนด์ที่ 1 เยือนสุพรรณบุรี เดินป่าบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อุทยานแห่งชาติพุเตย แบรนด์ที่ 2 “เยือนสุพรรณบุรี ร่วมสนุกกับกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เข้าร่วมมหกรรม Event ด้านอาหารเกษตรดนตรี กีฬา และประเพณี แบรนด์ที่ 3 เที่ยวสุพรรณบุรี สัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนจากพหุวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แบรนด์ที่ 4 เที่ยวสุพรรณบุรี ศึกษาสถานที่แห่งความทรงจำของมนุษยชาติ อายุ 3,500-4,000 ปี เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจากยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสุพรรณบุรียุคปัจจุบัน 3) การประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์มาปฏิบัติการในโครงการนำร่องที่บ้านบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวที่บางแม่หม้าย มีความพอใจกับการท่องเที่ยว