Browsing by Author "จารุชา สมศรี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) จารุชา สมศรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของครู 3) สร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แบบวัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และองค์ประกอบเชิงยืนยัน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แบบวัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบเป็นขั้นตอน และเส้นทางอิทธิพล ขั้นตอนที่ 3 สร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาครู โดยนำองค์ประกอบที่มีค่าไอเกนสูงสุด และปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู มาสร้างรูปแบบการพัฒนาครู ใช้วิธีสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน นำร่างรูปแบบ ไปสร้างแบบสอบถามประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจากความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง 30 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของครู มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้และวิจัยในชั้นเรียน2) การทำงานร่วมกับผู้อื่นและจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3) การพัฒนาและประเมินหลักสูตร 4) จิตวิทยาการเรียนรู้ และ 5) การผลิตสื่อเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยองค์ประกอบสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ที่มีค่าไอเกนสูงสุด คือ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้และวิจัยในชั้นเรียน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของครู ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร และทัศนคติต่อการพัฒนาตนเอง 3. รูปแบบการพัฒนาครูที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนาซึ่งมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร และทัศนคติต่อการพัฒนาตนเอง ส่วนที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และวิจัยในชั้นเรียนตามหลักการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนกำหนดเป้าหมาย การลงมือปฏิบัติ การสังเกตชั้นเรียน การสะท้อนผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 4) แนวทางการประเมินผล ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05