Browsing by Author "จักรกฤษ วิชาพร"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาการขุนกระบือปลักในฟาร์มเกษตรกร และคุณภาพของรังไข่ที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ในจังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) จักรกฤษ วิชาพรการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาการขุนกระบือปลักในฟาร์มเกษตรกร และคุณภาพของรังไข่ที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ในจังหวัดพะเยา การศึกษาที่ 1 ศึกษาอิทธิพลของน้ำหนักก่อนเข้าขุนของกระบือปลักต่อประสิทธิภาพการผลิต โดยเก็บข้อมูลจากฟาร์มเกษตรกรในจังหวัดพะเยา จำนวน 3 กลุ่มการผลิต กลุ่มที่ 1 น้ำหนักเข้าขุนน้อย (203.11±5.77 กิโลกรัม) จำนวน 70 ตัว กลุ่มที่ 2 น้ำหนักปานกลาง (254.84±8.64 กิโลกรัม) จำนวน 63 ตัว และกลุ่มที่ 3 น้ำหนักมาก (317.27±21.08 กิโลกรัม) จำนวน 85 ตัว ผลการศึกษาพบว่า กระบือกลุ่มที่ 1 มีการเจริญเติบโตต่อวัน 1.22±0.07 กิโลกรัม สูงกว่ากลุ่มที่ 2 มีค่าเท่ากับ 1.12±0.07 กิโลกรัมต่อวัน และกลุ่ม 3 มีค่าเท่ากับ 0.86±0.18 กิโลกรัมต่อวัน เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการขุนกระบือปลักในรอบการขุน พบว่า กระบือกลุ่ม 1, 2 และ 3 มีกำไรเฉลี่ย 4,225.66, 6,229.37 และ 4,751.18 บาทต่อตัว ตามลำดับ การศึกษาที่ 2 คุณภาพของรังไข่ของกระบือที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ในจังหวัดพะเยา การศึกษาที่ 2.1 เปรียบเทียบระหว่างรังไข่กระบือตัวที่ปรากฏ CL กับไม่ปรากฏ CL พบว่า กระบือที่ไม่ปรากฏ CL มี จำนวนฟอลลิเคิลมากกว่ากระบือที่ปรากฎ CL (7.84±2.59 vs 5.53±2.94) เช่นเดียวกับจำนวนเซลล์ไข่ พบว่า กระบือที่ไม่ปรากฏ CL มีจำนวนเซลล์ไข่มากกว่ากระบือที่ปรากฎ CL (4.66±1.12 vs 2.80±1.39) การศึกษาที่ 2.2 เปรียบเทียบระหว่างรังไข่ข้างที่มี CL กับข้างที่ไม่มี CL ของกระบือที่ปรากฎ CL พบว่า จำนวนฟอลลิเคิลไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่รังไข่ข้างที่ไม่มี CL มีจำนวนเซลล์ไข่มากว่ารังไข่ข้างที่มี CL (3.43±1.52 vs 2.17±1.12) ดังนั้น สรุปได้ว่า CL ส่งผลต่อการพัฒนาฟอลลิเคิลและคุณภาพเซลล์ไข่ลดลงในกระบือปลัก