Browsing by Author "จักรกฤษณ์ โทจรัญ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemคุณภาพน้ำในระบบบึงประดิษฐ์แบบลอยน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชี้วัด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) รัฐธนานุพนต์ ใจยะเขียว; จักรกฤษณ์ โทจรัญการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำในระบบบึงประดิษฐ์แบบลอยน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชี้วัด ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด ดังนี้ 1) น้ำเสียก่อนเข้าระบบ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 31 genera 64 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta 56% และต่ำสุด ได้แก่ Division Euglenophyta 9% และ Division Cyanophyta 9% 2) ชุดการทดลองควบคุมไม่มีแพลอยน้ำ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 34 genera 61 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Bacillariophyta 49% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 9% 3) ชุดการทดลองควบคุมมีแพลอยน้ำ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 33 genera 56 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Bacillariophyta 41% และตํ่าสุด คือ Division Cyanophyta 4% 4) ชุดการทดลองพืชกกลังกา พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 33 genera 60 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ Division Chlorophyta 44% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 7% 5) ชุดการทดลองพืชไอริส พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 34 genera 61 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Bacillariophyta 37% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 13% คุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นที่พบ โดยวิธี AARL-PP Score จัดอยู่ในระดับ 5.6-7.5 คะแนน บ่งชี้คุณภาพอยู่ในระดับ Meso-eutrophic หรือสารอาหารปานกลางถึงสูง โดยแพลงก์ตอนพืชจีนัส Scenedesmus และ Cyclotella เป็นจีนัสที่พบมากที่สุดในน้ำเสียก่อนเข้าระบบซึ่งสามารถบ่งชี้สภาพคุณภาพน้ำต่ำได้ นอกจากนี้พบว่าเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Canonical Correspondence Analysis (CCA) เพื่อหาความสัมพันธ์ของแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำบางประการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่ม Euglena sp.5 Euglena sp.6 Nitzchia palea Monoraphidium contortum และ Phocus ranula มีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับแอมโมเนียไนโตรเจน (2) กลุ่ม Euglena sp.7 Phacus sp.1 Phacus sp.2 Golenkinia sp.1 และ Cosmarium sp.1 มีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับ DO และ (3) กลุ่ม Closteriopsis sp.2 มีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับไนโตรเจนรวมและปริมาณของแข็งแขวนลอย