Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "กุลรัศมิ์ เวียงแก้ว"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาและทางออกการโอนสิทธิหรือการตกทอดทางมรดกของที่ดิน ส.ป.ก.: ศึกษากรณีในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กุลรัศมิ์ เวียงแก้ว
    ภายใต้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 การโอนหรือการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ติด ส.ป.ก นั้น เป็นไปตามมาตรา 30 และระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ 2535 ส่วนการโอนหรือการตกทอดทางมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. นั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ 2518 มาตรา 39 ซึ่งได้กำหนดให้สามารถโอนสิทธิหรือแบ่งแยกให้แก่ทายาทโดยธรรม โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว จึงใช้มติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการโอนและการตกทอดมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์ ซึ่งได้กำหนดให้สิทธิให้ที่ดินตกแก่คู่สมรสก่อนเป็นลำดับแรก เว้นแต่คู่สมรสไม่ประสงค์ขอรับสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน สิทธิดังกล่าวจึงตกทอดแก่บุตรที่เป็นเกษตรกร การครอบครองสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. เป็นเพียงสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเท่านั้น เกษตรกรไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงไม่สามารถนำที่ดินที่ครอบครองสิทธิไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมได้ นอกจากนี้ ในเรื่องคุณสมบัติการเป็นเกษตรกร ก็เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเป็นเกษตรกร พ.ศ. 2535 ดังนั้น จึงส่งผลให้เรื่องการตกทอดที่ดิน ส.ป.ก. แก่ทายาทไม่สามารถยึดหลักการรับมรดก ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ได้ ที่ผ่านมาจึงเกิดความสับสนต่อเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่าภาครัฐควรทำให้เกิดความชัดเจนและมีมาตรฐาน โดยมีการกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ควรเพิ่มมาตรการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทราบเรื่องการตกทอดทางมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ถูกต้องต่อไป

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback