Browsing by Author "กิตติศักดิ์ ทุมเสน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemมาตรการสนับสนุนความน่าเชื่อถือข้อมูลพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการยุติธรรม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) กิตติศักดิ์ ทุมเสนสังคมปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกรรม จากเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของกระดาษกลายเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ การสร้าง หรือการจัดเก็บเอกสารในรูปการจัดเก็บบันทึกของไฟล์ จึงมีความสำคัญมาก เนื่องจากพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์มีความแตกต่างจากพยานหลักฐานทั่วไป เพราะมีความเปราะบางสูง แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และไร้ร่องรอย จึงจำเป็นต้องทำให้พยานหลักฐานดังกล่าวนั้นน่าเชื่อถือและสามารถนำมาใช้ได้ในชั้นศาลเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบปัญหา คือ กฎหมายไทยยังมีช่องโหว่ และกระบวนการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กำหนดยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีมาตรการควบคุมให้เป็นทิศทางเดียวกันกับสากล ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลก่อนที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงข้อมูลการทำงานของระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำการบันทึก หรือจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดความน่าเชื่อถือของลักษณะ หรือวิธีการที่ใช้สร้างหรือวิธีการเก็บรักษา หรือวิธีการที่ใช้ข้อมูลสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในการระบุถึงความถูกต้องแท้จริง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ดังนั้น ในการสร้างความน่าเชื่อถือ ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับรองความถูกต้องของพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา โดยออกเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการตรวจสอบพยานหลักฐานนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินคดีโดยรัฐหรือเอกชน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นแบบอย่างในการรับประกันถึงความยุติธรรมที่คู่ความจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ควรกำหนดแนวทางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ในส่วนการรับรองความถูกต้องแท้จริงของพยานอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ของพยานหลักฐานจะต้องรับรองความมีอยู่ ความถูกต้องการเข้าถึง และการได้มาของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวิธีและกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจัดให้มีผู้พิพากษาที่มีความรู้ในเชิงลึกในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านการอบรม เพื่อช่วยให้พิจารณาก่อให้เกิดความเป็นธรรม สะดวกรวดเร็วอีกทั้งเป็นหลักประกันต่อคู่ความในการใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยของผู้พิพากษาและให้ศาลยุติธรรมกำหนดให้มีแผนกที่เกี่ยวข้องในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์และระบบอิเล็กทรอนิกส์