Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "กิตติธัช นาวา"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางผังเมืองรวมชุมชนแม่กา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กิตติธัช นาวา
    การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางผังเมืองรวมชุมชนแม่กา เป็นการศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของชุมชนแม่กา เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการขยายตัวของชุมชนแม่กา และเสนอแนะแนวทางการวางแผนพัฒนาพื้นที่ชุมชนแม่กา การดำเนินงานวิจัยใช้วิธีวิเคราะห์ความเหมาะสมและศักยภาพของพื้นที่ด้วยวิธีการซ้อนทับข้อมูลจากปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยด้านพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อสรุปหาพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2564 ลักษณะการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านสิ่งปลูกสร้างของชุมชนแม่กามีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตามแนวถนนสายหลักและถนนสายรองภายในบริเวณชุมชนแม่กาจาก 11.02 ตารางกิโลเมตร เพิ่มเป็น 22.48 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 103.99 ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้มีขนาดลดลงจาก 161.63 ตารางกิโลเมตร เป็น 124.55 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 22.94 สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนแม่กา พบว่า มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนามาก 64.65 ตารางกิโลเมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 22.92 พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาปานกลาง 70.81 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 25.10 พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาน้อย 71.23 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 25.25 และพื้นที่กันออก ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่สงวนหรือรักษาไว้ พื้นที่หวงห้าม และพื้นที่ทางธรรมชาติ 75.31 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 26.70 จากศักยภาพพื้นที่ดังกล่าวสามารถกำหนดบริเวณ เพื่อเสนอแนะผังด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการพัฒนาในอนาคตสำหรับการจัดวางผังเมืองรวมและผังเมืองชุมชนแม่กาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback