Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "การุณย์ ชัยวณิชย์, พันโท"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการไฟฟ้าบนเครือข่ายสมาร์ตกริด
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) การุณย์ ชัยวณิชย์, พันโท
    การวิจัยนี้มีวัถุประสงค์ เพื่อประเมินการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก เศรษฐศาสตร์ ออกแบบการจำลองสถานการณ์ ประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการไฟฟ้าบนเครือข่ายสมาร์ตกริดภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีขนาด 0.5 MW โดยจะทำการประเมินตลอดอายุการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์ตลอดอายุ 20 ปี (ปี 2559 - 2578) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังการติดตั้ง 0.5 MW มีค่าเท่ากับ 912,500 kWh/year ต่อผลิตไฟฟ้า 1 kWh มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 0.2281 kgCO2eq ด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า NPV ที่อัตราดอกเบี้ย 9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เท่ากับ 1,253,130.17 บาท แสดงให้เห็นว่าคุ้มค่าที่จะลงทุน BCR เท่ากับ 1.03 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 โครงการนี้คุ้มค่าที่จะลงทุน และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 8.08 ปี พลังงานสะสม เพื่อผลิตไฟฟ้า 1 kWh (3.6 MJ) เท่ากับ 2.251 MJ โดยเซลล์แสงอาทิตย์มีพลังงาน สะสมมากที่สุด 2.234 MJ หรือคิดเป็นสัดส่วน 99.24 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าพลังงานสุทธิเท่ากับ 1.349 ซึ่งบ่งบอกว่าระบบ สมาร์ตกริดมีประสิทธิภาพทางพลังงานและมีความคุ้มค่าทางพลังงานในระดับดี ดังนั้น การบำรุงรักษาระบบเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นจาก 20 ปี เป็น 25 ปี สามารถลดพลังงานสะสมลงได้ 14.17 เปอร์เซ็นต์ จากการจำลองสถานการณ์ที่ 1 พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้การจัดการไฟฟ้าโดยการติดตั้งระบบควบคุมระบบปรับอากาศ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 1,027.251 tonCO2/year คิดเป็นร้อยละ 12.18 ต่อปี ของการปล่อยก๊าซเรือนทั้งหมดในระบบปรับอากาศของมหาวิทยาลัยพะเยา ทางด้านเศรษฐศาสตร์จะมีระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 0.09 ปี จากการจำลองสถานการณ์ที่ 2 โดยการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2 MW สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 2,544.61 tonCO2/year คิดเป็นร้อยละ 22.61 ต่อปีของการปล่อยก๊าซเรือนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยพะเยา ด้านเศรษฐศาสตร์จะมีระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 8.09 ปี แบบมหาวิทยาลัยลงทุน และถ้าแบบบริษัทเอกชนลงทุนสามารถประหยัดมูลค่าไฟฟ้าที่ลดลงเทียบเท่าปัจจุบันเท่ากับ 18,547,708.65 บาทต่อปี

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback