Browsing by Author "กัณฐิกา เบญจวรรณ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาผลของเพคตินนาโนสเฟียร์จากใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira L.) ร่วมกับไบโอนาโนแคลเซียมจากเกล็ดปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus, 1758) ต่อการดูดซึมธาตุอาหารแคลเซียมในต้นอ่อนข้าวสาลี (Triticum aestivum L.)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) กัณฐิกา เบญจวรรณ์งานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเพคตินที่สกัดจากใบกรุงเขมา ศึกษาผลของเพคตินนาโนสเฟียร์จากใบกรุงเขมาร่วมกับไบโอนาโนแคลเซียมจากเกล็ดปลานิลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนข้าวสาลี และผลของการดูดซึมแคลเซียมในต้นอ่อนข้าวสาลีในสภาวะการเพาะเลี้ยงความเป็นกรด-เบสที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า เพคตินที่สกัดได้จากใบกรุงเขมามีค่าผลผลิตร้อยละผลผลิต ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณกาแลกทูโลนิค เอ-สเทอริฟิเคชั่น และปริมาณเมทอกซิล มีคุณสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับเพคตินเชิงพาณิชย์ ผลของเพคตินนาโนสเฟียร์จากใบกรุงเขมาร่วมกับไบโอนาโนแคลเซียมจากเกล็ดปลานิลต่อการเจริญเติบโต และการดูดแคลเซียมในต้นอ่อนข้าวสาลีในเวลา 7 วัน พบว่า เพคตินนาโนสเฟียร์และสภาวะเบส มีอัตราการงอก ความยาวราก จำนวนราก และความสูงลำต้น เท่ากับ 100%, 124.15±2.41 มิลลิเมตร, 4.33±0.05 มิลลิเมตร, 42.24±1.73 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เพคตินนาโนสเฟียร์ร่วมกับไอนาโนแคลเซียมที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรและมีสภาวะกรดอ่อนทำให้ลำต้นและรากของต้นอ่อนข้าวสาลีมีปริมาณแคลเซียม 4.21 และ 4.13 ร้อยละของน้ำหนัก ซึ่งดีกว่าการทดลองในสภาวะอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) การวิจัยนี้สรุปได้ว่า เพคตินนาโนสเฟียร์จากใบกรุงเขมาร่วมกับไบโอนาโนแคลเซียมจากเกล็ดปลานิล สามารถกระตุ้นการเติบโตและเพิ่มแคลเซียมในต้นอ่อนข้าวสาลีได้