Browsing by Author "กัญญาวีร์ มีแสง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กัญญาวีร์ มีแสงผลของพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านโช้ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ทำการวิจัยกึ่งการทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 145 คน ผลการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบมีโครงสร้าง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (67.58%) ช่วงอายุเฉลี่ย 50-59 ปี ปลูกข้าวโพดปีละ 3 รอบ ผลผลิตเฉลี่ย 300-6000 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ปัจจัยการผลิตจากพ่อค้าคนกลาง สารเคมีเกษตรที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ย 46-6-6 (66.90%) สารควบคุมโรคพืชออติวา (48.28%) สารควบคุมแมลงไซเปอร์เมทริน 10% (72.76%) สารกำจัดวัชพืชด้วยกรัมม็อกโซน (47.59%) และไกลโฟเซต (35.17%) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ถูกห้ามใช้ใน 32 ประเทศ เนื่องจากมีการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม เป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ก่อมะเร็ง และเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ พฤติกรรมไม่ปลอดภัยของเกษตรกร คือ ไม่สวมใส่ชุดและอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี (85.72%) สูบบุหรี่ขณะใช้สารเคมีเกษตร (23.36%) ล้างภาชนะอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนสารเคมีเกษตรลงในแหล่งน้ำสาธารณะ (33.87%) อาการที่พบหลังรับสัมผัสสารเคมีเกษตรส่วนใหญ่ปวดศีรษะ (94.48%) สำหรับอาการกึ่งเรื้อรังที่พบในระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ระบบอาหาร ได้แก่ หายใจติดขัด (14.48%) ผืนแพ้ (21.38%) และอาเจียน (13%) ผลการทดสอบสารเคมีเกษตรตกค้างในดิน น้ำ และพืช ด้วย GT-Test kit พบว่า บริเวณต้นน้ำห้วยน้ำโช้มีสารเคมีเกษตรตกค้างในดิน น้ำ และพืชในระดับที่ไม่ปลอดภัย บริเวณต้นน้ำห้วยน้ำขาว และกลางน้ำห้วยน้ำขาว พบสารเคมีตกค้างในดินและพืชในระดับที่ไม่ปลอดภัย ผลการศึกษาได้นำมาจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยสารเคมีเกษตรในชุมชนและเสนอแนวทางเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกรเพื่อลดการปนเปื้อนสู่ร่างกายและสิ่งแวดล้อมต่อไป