Browsing by Author "กฤษชกร สุหนั่น"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาภายใต้โครงการ ห้องเรียนน่าอยู่การเรียนรู้ก้าวไกล พัฒนาวิถีใหม่ ได้วิถีคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กฤษชกร สุหนั่นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาภายใต้โครงการ ห้องเรียนน่าอยู่ การเรียนรู้ก้าวไกล พัฒนาวิถีใหม่ ได้วิถีคุณภาพ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ภายใต้โครงการ ห้องเรียนน่าอยู่ การเรียนรู้ก้าวไกล พัฒนาวิถีใหม่ ได้วิถีคุณภาพ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่ของ Scheffe’s ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ภายใต้โครงการห้องเรียนน่าอยู่ การเรียนรู้ก้าวไกล พัฒนาวิถีใหม่ ได้วิถีคุณภาพ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านสภาพห้องเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน และด้านผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ภายใต้โครงการห้องเรียนน่าอยู่ การเรียนรู้ก้าวไกลพัฒนาวิถีใหม่ ได้วิถีคุณภาพ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำแนกตามประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05