Browsing by Author "กรวุฒิ จำเริญพัฒน์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการระบุเลขออกซิเดชันของสารหนู (V) โดยใช้เทคนิคซินโครตรอนเบส เอ็กสเรย์สเปกโทสโกปี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กาญจนา สอนวดี; กรวุฒิ จำเริญพัฒน์ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์ TiO2/FeSO4 bimetallic composites ซึ่งใช้วิธีการสังเคราะห์การตกตะกอนร่วมกับคลื่นอัลตร้าโซนิค โดยใช้ตัวทำละลายเป็นเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 สาร bimetallic composite ที่ได้จากการสังเคราะห์นี้นำไปศึกษาคุณลักษณะด้วยเทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกโทมิเตอร์ พบตำแหน่งของ TiO2 ที่ 2θ = 29.5°, 43.2°, 45. 2°, 56.5°, 63.5° และพบตำแหน่งของ Fe2O3 ที่ 2θ = 28.2°, 38.8°, 41.8°, 47.8° และ 58.2° ซึ่งจะยืนยันว่าวิธีการสังเคราะห์ในครั้งนี้ สามารถสังเคราะห์สารผสมระหว่าง TiO2 และ Fe2O3 ได้และทำการศึกษาข้อมูลทางสเปกโทรสโกปี โดยใช้เทคนิค ยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ พบช่วงการดูดแสงอยู่ที่ 370 นาโนเมตร ซึ่งอยู่ในช่วงของคลื่นยูวี นอกจากนี้ได้ทำการระบุเลขออกซิเดชัน โดยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์ปชันสเปกโทรสโกปี พบตำแหน่งของค่า °E ของสารหนู (V) มีค่า normalized, 1st derivative, 2nd derivative, R-space ที่ 11877.77 eV, 11876.35 eV, 11877.68 eV และ 1.30865 Å ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบ่งชี้ถึงชนิดของสารหนูในสารตัวอย่างที่ถูกดูดซับบน TiO2 หรือ Fe2O3 และ bimetallic composite ได้ จากการศึกษาวิธีการสังเคราะห์ TiO2/FeSO4 bimetallic composites ในอนาคตอาจมีการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในปฏิกิริยาทางแสงได้ และใช้ในการกำจัดสารหนูที่ปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติได้