Browsing by Author "กนิษฐา ทองเกล็ด"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายปุ๋ยหมักผักตบชวาโดยเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลาย เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กนิษฐา ทองเกล็ดงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 ชนิด (Mucor elipsoideus, Rhizopus oryzae และ Trichoderma harzianum) ในผักตบชวาย่อยสลาย ประกอบด้วยอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส, pH 6.5-7.0 และแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจน ในการทดลองที่ 1 พบว่า M. elipsoideus และ R. oyzae เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เหมาะสมต่อการเจริญของรา T. harzianum ส่วน pH ที่เหมาะสมต่อรา T. harzianum, M. elipsoideus และ R. oryzae คือ pH 6.0, 7.0 และ 7.5 ตามลำดับ Sucrose เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของรา M. elipsoideus และ T. harzianum และแป้ง เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุดสำหรับ R. oryzae ส่วน Potassium nitrate เป็นแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสมต่อรา M. elipsoideus และ T. harzianum ในขณะที่ Peptone เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ดีที่สุดสำหรับ R. *yz0e การทดลองที่ 2 ผลการทดสอบการย่อยสลาย ผักตบชวา ที่ 60 วัน พบว่า เชื้อราทั้ง 3 ชนิด มีความสามารถในการย่อยสลาย โดยการหมักผักตบชวาสดร่วมกับรา M. elipsoideus, R. oryzae และ T. harzianum มีอัตราการย่อยสลายมากที่สุด เท่ากับ 88.60% รองลงมา คือ การหมักผักตบชวาสดร่วมกับรา R. oryzae และ T. harzianum (86.50%) เมื่อเปรียบเทียบกับการหมักผักตบชวาสดร่วมกับรา T. harzianum (85.87% ในการทดลองที่ 3 การทดสอบผลของผักตบชวาที่ผ่านการหมักจากเชื้อรา 3 ชนิด ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 พบว่า จำนวนเมล็ดดี (113.65) อัตราการติดเมล็ด (80.97%) และดัชนีการเก็บเกี่ยว (4.27) มีความแตกต่างจากกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ