Browsing by Author "กนกศักดิ์ อินทะรังษี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประเมินความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีในดินและน้ำใต้ดิน: กรณีศึกษาโรงงานรีไซเคิลอะลูมิเนียม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กนกศักดิ์ อินทะรังษีงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการประเมินความความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีในดินและน้ำใต้ดิน กรณีศึกษาโรงงานรีไซเคิลอะลูมิเนียม พบว่า การประเมินความเสี่ยงในกระบวนการผลิตของโรงงานรีไซเคิลอะลูมิเนียมมีการใช้สารเคมี ปริมาณการกักเก็บสารเคมี ของเสียภายในโรงงานและวัตถุดิบที่ปนเปื้อนน้ำมัน จากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของโรงงานรีไซเคิลอะลูมิเนียม พบว่า มีปริมาณ อะลูมิเนียมที่ปนเปื้อนน้ำมันคงเหลือสะสมต่อปีสูงสุด 91.9%,น้ำมันเตา 7.9% และปูนขาว 0.2% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจัดลำดับสารที่ก่อให้เกิดการเปื้อน พบว่า อะลูมิเนียมที่ปนเปื้อนน้ำมัน มีระดับความเสี่ยงมากที่สุด ระดับต่อมา คือ น้ำมันเตา และปูนขาว ตามลำดับ โดยอะลูมิเนียมที่ปนเปื้อนน้ำมัน จากน้ำมันที่ปนเปื้อนมานั้น จะมีปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน เป็นองค์ประกอบ ดังนั้น จึงใช้โททอลปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน เป็นตัวแทนสำหรับการประเมินการปนเปื้อนสารเคมีที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม จากการทดสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดินบริเวณโรงงานรีไซเคิลอะลูมิเนียม พบว่า มีปริมาณ โททอลปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ในตัวอย่างดินบน (30 ซม. จากระดับผิวดิน) และดินล่าง (30 ซม. ก่อนพบระดับน้ำใต้ดิน) ของทั้งบ่ออ้างอิงและบ่อท้ายน้ำ โดยพบ โททอลปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ทั้งนี้ สารดังกล่าวเป็นส่วนประกอบของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องจักรและการขนส่งในบริเวณโรงงาน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณการปนเปื้อนที่พบยังคงมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายได้ระบุเกณฑ์การปนเปื้อนของ โททอลปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (C>8-C16) ในดินไม่เกิน 25 มล./กก.และ ในน้ำใต้ดินไม่เกิน 1.7 มล./ล. ตามลำดับ