ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students) by Subject "Aquatic insects"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemความหลากหลายของแมลงน้ำในเขตวนอุทยานร่องคำหลวงจังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชลารักษ์ จูชาวนา; วรยศ แสงนาคการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำ และปัจจัยทางกายภาพและทางเคมีที่มีผลตอความหลากชนิดของแมลงน้ำใน วนอุทยานร่องคำหลวง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา พบตัวอ่อนแมลงน้ำทั้งหมด 9 อันดับ 45 วงศ์ ทั้งหมด 1,130 ตัว ประกอบด้วยแมลง อันดับ ต่างๆ ดังต่อไปนี้ Ephemeroptera, Odonata, Plecoptera, Hemiptera, Megaloptera, Coleoptera, Diptera, Lepidoptera และ Trichoptera สถานีที่ 1 พบแมลงน้ำทั้งหมด 8 อันดับ 26 วงศ์ 254 ตัว สถานีที่ 2 พบแมลงน้ำทั้งหมด 9 อันดับ 30 วงศ์ 365 ตัว สถานีที่ 3 พบแมลงน้ำทั้งหมด 8 อันดับ 27 วงศ์ 242 ตัว สถานีที่ 4 พบแมลงน้ำทั้งหมด 8 อันดับ 32 วงศ์ 269 ตัว อันดับที่พบมากที่สุด คือ Ephemeroptera และ Trichoptera วงศ์ที่พบมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ Heptageniidae, Leptophlebiidae และ Hydropsychidae ดัชนีความหลากของ Shannon-Wiener (H) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 เป็นลำธารที่มีมลภาวะระดับปานกลาง การวิเคราะห์บทบาทการกินของแมลงน้ำ พบว่า ลำธารมีความเป็น Autotrophic แต่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น Heterotrophic ก็ต่อเมื่อลำธารมีความสามารถในการกักเก็บอนุภาค CPOM และ FPOM ไว้ได้ โดยที่อนุภาคส่วนใหญ่นั้นเป็นแบบ FPOM พื้นท้องน้ำมีความแข็งแรงสูงในทุกสถานี อีกทั้งยังพบผู้ล่าที่มีจำนวนมากบ่งบอกถึงเหยื่อที่มีจำนวนมากเช่นกัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีค่าสูง มีค่าออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่ำซึ่งบ่งบอกว่าเป็นแหล่งน้ำผิวน้ำประเภทที่ 1 ผลวิเคราะห์ทางสถิติ (One-way ANOVA) พบว่า ดัชนีความหลากหลายของแต่ละสถานีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%