Browsing by Author "อริสรา บุญรักษา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) อริสรา บุญรักษาการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการถดถอย โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.8 มีอายุอยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 53.8 สถานภาพ สมรส ร้อยละ 69.2 จำนวนสมาชิกในครอบครัว ส่วนใหญ่ 1 ถึง 3 คน ร้อยละ 62.9 ผู้ดูแลหลัก คือ คู่สมรส ร้อยละ 59.6 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 81.1 การหกล้มของผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 26.0 ผู้หญิงหกล้มมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า โดยมีสาเหตุจากการวิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 33.3 สถานที่เกิดหกล้ม ส่วนใหญ่ที่บ้าน ร้อยละ 89.6 ผลจากการล้ม ส่วนใหญ่บาดเจ็บปานกลาง ร้อยละ 37.5 และการรักษา ส่วนใหญ่ไปพบแพทย์ ร้อยละ 70.8 ปัจจัยภายใน ส่วนใหญ่ พบว่า ดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 56.3 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 62.5 มีการใช้ยา ร้อยละ 65.8 อาบน้ำได้ ร้อยละ 96.3 ไม่มีปัญหาการทรงตัว ร้อยละ 89.2 การมองเห็นชัดเจน ร้อยละ 73.3 ภาวะสุขภาพดี 59.6 ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ พบว่า ที่พักอาศัยบ้านสองชั้น ร้อยละ 54.2 มีราวบันได 1 ข้าง ร้อยละ 56.2 พื้นบ้านปูกระเบื้องมันลื่น ร้อยละ 68.8 มีห้องน้ำภายในบ้าน ร้อยละ 77.1 เป็นส้วมชักโครก ร้อยละ 95.8 ห้องน้ำไม่มีราวเกาะ ร้อยละ 85.4 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ คือ อายุ ดัชนีมวลกาย ปัญหาการทรงตัว การมองเห็น ภาวะสุขภาพ และราวบันได สามารถใช้ทำนายการหกล้มของผู้สูงอายุตำบลแม่อิง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้สมการทำนาย คือ การหกล้ม = 12.443 + 1.228 (อายุ) + 1.958 (การทรงตัว) + 2.323 (การมองเห็น) - 2.313 (ดัชนีมวลกาย) + 2.181 (ภาวะสุขภาพ) - 3.993 (ราวบันได) การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุควรเน้นการดูแลในผู้มีอายุมาก มีปัญหาการทรงตัว ปัญหาการมองเห็น ดัชนีมวลกาย ภาวะสุขภาพและการมีราวบันได