วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students) by Author "กนกพร ชุมภู"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนในอำเภอแม่ฟ้าหลวงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กนกพร ชุมภูการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนในอำเภอแม่ฟ้าหลวง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสุขภาพองค์การของโรงเรียนในอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนในอำเภอแม่ฟ้าหลวงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 242 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตาราง ของ Krejcie and Morgan เมื่อได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างแล้วจึงใช้วิธีการสุ่มแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้นและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1) เป็นแบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาพองค์การของสถานศึกษา โดยรวมทุกมิติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับสภาพสุขภาพองค์การของโรงเรียนจากมากไปน้อย ดังนี้ คือ มิติด้านการอยู่ร่วมกันของครู มิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร มิติด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน มิติด้านขวัญในการปฏิบัติงาน มิติด้านอิทธิพลของผู้บริหาร และมิติด้านการมุ่งเน้นวิชาการ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา พบว่า มิติด้านการมุ่งเน้นวิชาการ ครูควรจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการสอนเสริมในรายวิชาที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มิติด้านอิทธิพลของผู้บริหาร ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีการวางตัวให้เหมาะสมและบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในการปกครอง มิติด้านขวัญในการปฏิบัติงาน ควรมีการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบงานตามความถัดของแต่ละบุคคลเพื่อสร้างให้ครูมีความพึงพอใจเกี่ยวกับหน้าที่ควรรับผิดชอบของตน